สำรวจ Beyond Borders

เราได้หนังสือเล่มนี้มาเป็นของที่ระลึกจากงานเวิร์กช็อป ASEAN Young Writers Award 2014 ประเทศไทย ประมาณเดือนสิงหาคม หรือที่เขาเรียนกันเล่นๆ ว่า”ซีไรต์เด็ก”

งานจบมานานแล้ว นานมั่กๆ ผลงานเรื่องสั้นของเราและเพื่อนร่วมค่ายยังไม่ได้รวมเล่ม เราหยิบหนังสือที่ระลึกเล่มนี้ออกมาจากกล่องหรู พลิกดูอีกครั้ง ตอนนั้นผัดผ่อนเพราะมันเป็นภาษาอังกฤษ แค่คิดจะอ่านก็เหนื่อยแล้ว

แต่เพราะล่าสุด เราได้อ่านบทความในนิตยสารไรต์เตอร์ว่าด้วยวรรณกรรมอาเซียน เราก็สนใจอยากจะลองเอามาอ่านและรีวิวบ้าง นึกขึ้นได้ว่าไหนๆ ก็มีเล่มนี้อยู่กับตัว ยังไม่ต้องลงทุนกำลังทรัพย์เยอะก็ได้อ่านงานเพื่อนบ้านแบบสั้นๆ ด้วย ก็เลยลองมาพลิกๆ ดู และเอามาเล่าให้ฟัง

มองดูแล้ว หนังสือเล่มนี้คือความพยายามของกรุงเทพมหานครในวาระเมืองหนังสือโลก ที่พยายามจะสร้างอะไรให้ออกมาเป็นรูปธรรม ระบุว่าเป็น Anthology หรือรวมงานเขียนขนาดสั้น (เรื่องสั้นหรือบทกวี) จำนวน 35 ชิ้น ของนักเขียนผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ทั้ง 10 ประเทศคละกันไป นำมาแปล ถอดความเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ไร้พรมแดน ลงท้ายคำนำด้วยชื่อที่เรารู้จักกันดี ผู้ว่าราชการฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์

ในจำนวนนี้ มองผ่านๆ ก็เห็นชื่อ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ไพวรินทร์ ขาวงาม ปราบดา หยุ่น วินทร์ เลียววาริณ จเด็จ กำจรเดช ซะการีย์ยา อมตยา ศักดิ์สิริ มีสมสืบ และวาณิช จรุงกิจอนันต์ เท่ากับ 8 คน จาก 35 คน นั่นเท่ากับว่าอีก 9 ประเทศที่เหลืออาจจะปรากฎอยู่ในเล่มนี้ประมาณ 3 คน ตามโควตา กลายเป็นว่าใจความหลักของหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นการเผยแพร่งานเขียนของนักเขียนไทยสู่สายตาอาเซียนมากกว่า

อ่าว ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ได้ลองชิม ประเทศละนิดละหน่อย ทีนี้เราพยายามหาว่าหนังสือเล่มนี้พิมพ์มากี่ฉบับ แต่หาไม่เจอ รูปเล่มดูดีก็จริง แต่ถ้าคนทั่วไปเข้าถึงไม่ได้ หาซื้อไม่ได้ ไม่มี PDF ให้ดาวน์โหลด (ซึ่งโอเค มันอาจจะเพราะปัญหาลิขสิทธิ์) ก็เท่ากับว่าการลงทุนแปล และจัดพิมพ์เพื่อให้คนในอาเซียนได้ Beyond Borders จริงๆ ก็คงเป็นความหมายที่แคบมากๆ ไม่รู้ว่าเอาไปแจกใครบ้าง หรือว่าเราเชยเองก็ไม่รู้ ที่แน่ๆ เขียนไว้ว่า Not for sale หรือไม่ให้จำหน่าย เราก็เลยเดาไปว่า สงสัยจะเอาไว้แจกตามวาระสำคัญๆ แบบนี้ ซึ่งก็คงมีไม่บ่อย คนที่ได้อาจจะไม่อ่าน คนที่อยากอ่าน ก็คงไม่มีทางได้

เนื่องจากเรายังไม่ได้อ่านเนื้อหาข้างใน เลยยังเชียร์ให้พิมพ์มากกว่านี้ไม่ได้ แต่แค่คิดว่า หากจะเกิดการพิมพ์ซ้ำจริงๆ ก็อยากให้เป็นการค้าหรือแจกในวงกว้างแบบวารสารปรากฏ ไปเลย น่าจะมีประโยชน์กับประชาคมอาเซียนมากกว่า ทั้งนี้คิดจากต้นทุนนักแปลที่เสียไปแล้ว

ต่อจากนี้เราก็คงใช้เวลาสักพัก อ่านงานเขียนของนักเขียนอาเซียนเหล่านี้ ค่อยๆ ขบเคี้ยว ย่อย (สลับกับเปิดดิคชันนารี)แล้วเอามารีวิวให้ฟัง ถ้าโชคดี มีสตางค์ก็อาจจะไปหาเล่มเต็มที่แปลแล้ว มาอ่านให้จุใจไปเลย

สำหรับคนที่สนใจ ลองไปอ่านรีวิวสั้นๆ ของ Bangkokpost ก่อนได้เลย www.bangkokpost.com/print/374540/

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.